Skip to main content

วาทกรรมกับการวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse and Discourse Analysis)

วาทกรรมกับการวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse and Discourse Analysis)


Michel Foucault

          วาทกรรม (Discourse) ในงานศึกษานี้ มิได้หมายถึงภาษา คำพูด หรือถ้อยแถลงอย่างที่มักนิยมเข้าใจกันเท่านั้น แต่ใช่ในความหมายแบบเดียวกันกับ มิเชล  ฟูโกต์ (Michel Foucault,  ๑๙๘๒-๑๙๘๔) นักคิด นักเขียน และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงโด่งดังใช้ในงานศึกษายุกหลังของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นับตั้งแต่ศตวรรษ ๑๙๗๐ เป็นต้น กล่าวคือ วาทกรรมในงานศึกษานี้ หมายถึงระบบ และกระบวนการสร้าง/ผลิต (constitute) เอกลักษณ์ (identity) และความหมาย (significance) ในกับสรรพสิ่งต่าง ๆ ในสังคมที่ห่อหุ้มเราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความจริง อำนาจ หรือตัวตนของเราเอง นอกจากนี้วาทกรรมยังทำหน้าที่ตรึงสิ่งที่สร้างขึ้นให้ดำรงอยู่และเป็นที่ยอมรับของสังคมในวงกว้าง (valorize) กลายสภาพเป็นสิ่งที่พูดเขียนเรียกงานศึกษานี้ว่า “วาทกรรมหลัก” เพราะนอกจากจะทำให้ไม่เห็นความจริงแล้ว ยังอาจทำให้เราเข้าใจผิดไปได้ว่ามีการแบ่งแยกกันเด็ดขาดระหว่างวาทกรรมหลักกับวาทกรรมรอง โดยยกให้วาทกรรมหลักมีอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาด ทำให้มองไม่เห็นการขับเคี่ยวระหว่างวาทกรรม และทำให้เรามองไม่เห็นอย่างที่ฟูโกต์มองว่า วาทกรรมคือ “ชุดของส่วนเสี้ยวที่ไม่มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน แต่ต้องมาอยู่รวมกัน และอยู่รวมกันมิใช่ในฐานะที่เป็นเอกภาพหรือมีความมั่นคง แต่ในฐานะที่เป็นชุดงานของวาทกรรมที่มีความแตกต่างและหลากหลาย และต่างก็มียุทธศาสตร์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกันในการมาอยู่รวมกัน (Foucault,  ๑๙๗๘b:๑๐๐) ขณะเดียวกัน วาทกรรมก็ทำหน้าที่เก็บกด/ปิดกั้น มิให้เอกอลักษณ์และความหมายของบางอย่างที่เกิดขึ้น (subjugate) หรือไม่ก็ทำให้เอกลักษณ์และความหมายบางสิ่งที่ดำรงอยู่แล้วในสังคมเลือนหายไปได้พร้อมกันด้วย (displace)

(ซ้าย) มิเชล ฟูโกต์ (ขวา) มิเชล ฟูโกต์ กับ ฌอง ปอล ซาร์ต นักปรัชญาอัตถิภาวะนิยมชาวฝรั่งเศส ในปี 1972 ระหว่างการประท้วงเพื่อปีแอร์ อูแวร์นีย์ คนงานนิยมลัทธิเหมาที่ถูกสังหารระหว่างการสไตรก์ที่โรงงานผลิตรถยนต์ยี่ห้อเรโนลต์



          ความหมายของวาทกรรมดังกล่าวข้างต้นไปไม่ปรากฏในงานของฟูโกต์ชิ้นใดหรือหน้าใดเป็นการเฉพาะ แต่เป็นการประมวลผลจากความเข้าใจของผู้เขียนเองที่ได้จากงานของฟูโกต์ที่ผลิตขึ้นในช่วงหลังคริสต์ทศวรรษ ๑๙๗๐ ซึ่งถือกันว่าเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงวิธีการศึกษาของเขา จากวิธีการศึกษาของเขา จากวิธีการศึกษาที่เรียกว่า “archaeology” สู่วิธีการศึกษาที่เรียกว่า “genealogy” หรือ “วงศาวิทยา” นอกจากนี้ ความหมายของวาทกรรมข้างต้นยังสอดรับกับความคิดในช่วงสุดท้ายของชีวิตของฟูโกต์ ที่ให้ความสนใจศึกษาสิ่งที่เรียกวาส “เทคนิควิทยาการของการสร้างตัวตน” (technologies of the self, ดูรายละเอียดข้างหน้า) ก่อนหน้าการศึกษาแบบวงศาวิทยา ฟูโกต์ให้ความสำคัญกับภาษาอย่างมาก โดยมองว่าวาทกรรมคือระบบที่ทำให้       การพูด /การเขียนในสังคมหนึ่ง ๆ เป็นไปได้ เพราะวาทกรรมจะเป็นตัวกำหนดกฎเกณฑ์ เงื่อนไข และกลไกต่าง ๆ ในการพูด/การเขียน (Foucault,  ๑๙๗๐b : ๗๙-๘๐ เป็นต้นไป) 

ที่มา : ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร หนังสือวาทกรรมการพัฒนา

Comments

Popular posts from this blog

การวิจารณ์แก่นเรื่อง (Theme) ที่ปรากฏนวนิยาย

การวิจารณ์แก่นเรื่อง (Theme) ที่ปรากฏนวนิยาย  รศ.ดร.ธัญญา  สังขพันธานนท์ รศ.ดร.ธัญญา   สังขพันธานนท์ ๑ . ความหมาย แก่นเรื่อง ( Theme ) บางครั้งเรียกว่า สารัตถะ หรือความคิดหลักของเรื่อง อุดม หนูทอง (๒๕๒๓ : ๑๑๙) ให้ความหมายว่า เป็นสาระหรือสัจจะที่ผู้ประพันธ์หยั่งเห็น เชื่อถือหรือยึดถือ และประสงค์จะสื่อไปยังผู้อ่าน ส่วน กุหลาบ มัลลิกามาส (๒๕๒๙ : ๑๐๙ – ๑๐๘) ให้ความหมายของแก่นเรื่องว่าคือทรรศนะที่ผู้แต่งแสดงให้เห็นถึงธรรมดา ธรรมชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือหลายอย่าง) ของมนุษย์ (ชีวทัศน์) หรือทัศนะที่ผู้แต่งมีต่อโลก (โลกทัศน์) แล้วนำมาแสดงให้ประจักษ์แก่ผู้อ่านโดยใช้เนื้อเรื่องเป็นเครื่องสื่อสาร แก่นเรื่องจึงเป็นจุดมุ่งหมายอันเป็นแก่นกลางหรือเป็นแนวคิดหลักของเรื่อง หรือเป็นสารที่ผู้แต่งต้องการสื่อมายังผู้อ่าน           จากความหมายข้างต้น อาจสรุปได้ว่า แก่นเรื่องคือสาระสำคัญที่ผู้แต่งมีจุดประสงค์ต้องการสื่อมายังผู้อ่าน สาระสำคัญนั้นมักจะเกี่ยวกับความเป็นจริงของชีวิตเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความหยั่งรู้ เข้าใจและเป็นข้อคิดเตือนใจ           แก่นเรื่อง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในวรรณกรรม

ร่ายสุภาพ

พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายคำว่า "ร่ายสุภาพ" ไว้ว่า น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งมี ๕ คำ ส่งสัมผัสท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสกับคำที่ ๑ ที่ ๒ หรือที่ ๓ ของวรรคถัดไปและจะต้องจบด้วยโคลง ๒ สุภาพ.                   ร่ายสุภาพ   เป็นร่ายที่นิยมกันแพร่หลายตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน  มักมีการนำร่ายสุภาพไปแต่งเป็นส่วนหนึ่งของลิลิต  เช่น  ลิลิตพระลอ  ลิลิตตะเลงพ่าย ลักษณะบังคับของร่ายสุภาพ ๑.  แผนผัง    ๒.  คณะและพยางค์      ร่ายสุภาพบทหนึ่งมี  ๕  วรรคขึ้นไป  แต่ละวรรคมี  ๕  คำ จะแต่งกี่วรรคก็ได้     แต่ตอนจบต้องจบด้วยโคลงสองสุภาพ   ๓.  สัมผัส    ร่ายสุภาพมีการส่งสัมผัสท้ายวรรค  และมีสัมผัสรับตรงคำที่  ๑ , ๒ , ๓      คำใดคำหนึ่งจนถึงตอนท้าย  พอจะจบก็ส่งสัมผัสไปยังบทต้นของโคลงสองสุภาพ  ต่อจากนั้น   ก็บังคับสัมผัสตามแบบของโคลงสอง  จึงถือว่าจบร่ายแต่ละบท  ส่วนสัมผัสในนั้นไม่บังคับ       มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ๔.  คำเอกคำโท  มีบังคับคำเอกคำโทเฉพาะที่โคลงสองสุภาพตอนท้ายบทเท่านั้น ๕.  คำสร้อย  ร่ายสุ

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษาสื่อความหมาย

ข้อบกพร่องในการใช้ภาษาสื่อความหมาย ในการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายทั่วไปมักพบข้อบกพร่อง สรุปได้ดังนี้ 1. เป็นฝ่ายรับที่ไม่ดี คือ ฟังและอ่านไม่เข้าใจตรงกับแหล่งเดิม 2. เป็นฝ่ายให้ที่ไม่ดี คือ พูดและเขียนบกพร่อง ไม่พยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นจนยากที่จะรับจะเข้าใจได้  3. ไม่เข้าใจและไม่สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความหมายได้ เนื่องจากไม่รู้จักจัดลำดับความคิด และไม่รู้จักจัดความคิดให้เข้ากับภาษาที่ใช้  สาเหตุที่ทำให้การใช้ภาษาบกพร่อง            โดยทั่วไป สาเหตุที่ทำให้การใช้ภาษาบกพร่องจากทั้งทางฝ่ายให้มีดังต่อไปนี้  1. ทางฝ่ายรับ (ในด้านการอ่านและการฟังของผู้รับข่าวสาร)      1.1 ไม่รู้ความหมายเพียงพอ     1.2 ไม่รู้จักจัดคำให้ตรงกับความหมาย     1.3 ไม่เห็นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ ในประโยค 2. ทางใฝ่ให้ (ในด้านการพูดและการเขียนของผู้ส่งสาร)     2.1 ไม่คิดให้ดีเสียก่อนที่จะพูดหรือเขียน     2.2 ไม่ให้รายละเอียดในอันที่ช่วยให้ฝ่ายรับหรือผู้อ่านและผู้ฟังได้คิดค้นหาความหมายเพื่อความเข้าใจ     2.3 ใช้คำที่ให้ความหมายไม่ดี หรือไม่ชัดเจนพอ     2.4 จัดลำดับความคิดอ