พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายคำว่า "ร่ายสุภาพ" ไว้ว่า
น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งมี ๕ คำ ส่งสัมผัสท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสกับคำที่ ๑ ที่ ๒ หรือที่ ๓ ของวรรคถัดไปและจะต้องจบด้วยโคลง ๒ สุภาพ.
ร่ายสุภาพ เป็นร่ายที่นิยมกันแพร่หลายตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
มักมีการนำร่ายสุภาพไปแต่งเป็นส่วนหนึ่งของลิลิต เช่น
ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย
ลักษณะบังคับของร่ายสุภาพ
๑.
แผนผัง
๒.
คณะและพยางค์
ร่ายสุภาพบทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป
แต่ละวรรคมี ๕ คำ
จะแต่งกี่วรรคก็ได้ แต่ตอนจบต้องจบด้วยโคลงสองสุภาพ
๓. สัมผัส
ร่ายสุภาพมีการส่งสัมผัสท้ายวรรค
และมีสัมผัสรับตรงคำที่ ๑ ,
๒ , ๓
คำใดคำหนึ่งจนถึงตอนท้าย
พอจะจบก็ส่งสัมผัสไปยังบทต้นของโคลงสองสุภาพ ต่อจากนั้น
ก็บังคับสัมผัสตามแบบของโคลงสอง
จึงถือว่าจบร่ายแต่ละบท ส่วนสัมผัสในนั้นไม่บังคับ มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร
๔.
คำเอกคำโท
มีบังคับคำเอกคำโทเฉพาะที่โคลงสองสุภาพตอนท้ายบทเท่านั้น๕.
คำสร้อย ร่ายสุภาพแต่ละบท มีคำสร้อยได้เพียง ๒ คำ คือ
สองคำสุดท้าย
ของโคลงสองสุภาพ
เครดิตรูปภาพในรูปนะคะ ขอบคุณค่ะ
Comments
Post a Comment