Skip to main content

Posts

Showing posts from September, 2017

การวิจารณ์แก่นเรื่อง (Theme) ที่ปรากฏนวนิยาย

การวิจารณ์แก่นเรื่อง (Theme) ที่ปรากฏนวนิยาย  รศ.ดร.ธัญญา  สังขพันธานนท์ รศ.ดร.ธัญญา   สังขพันธานนท์ ๑ . ความหมาย แก่นเรื่อง ( Theme ) บางครั้งเรียกว่า สารัตถะ หรือความคิดหลักของเรื่อง อุดม หนูทอง (๒๕๒๓ : ๑๑๙) ให้ความหมายว่า เป็นสาระหรือสัจจะที่ผู้ประพันธ์หยั่งเห็น เชื่อถือหรือยึดถือ และประสงค์จะสื่อไปยังผู้อ่าน ส่วน กุหลาบ มัลลิกามาส (๒๕๒๙ : ๑๐๙ – ๑๐๘) ให้ความหมายของแก่นเรื่องว่าคือทรรศนะที่ผู้แต่งแสดงให้เห็นถึงธรรมดา ธรรมชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือหลายอย่าง) ของมนุษย์ (ชีวทัศน์) หรือทัศนะที่ผู้แต่งมีต่อโลก (โลกทัศน์) แล้วนำมาแสดงให้ประจักษ์แก่ผู้อ่านโดยใช้เนื้อเรื่องเป็นเครื่องสื่อสาร แก่นเรื่องจึงเป็นจุดมุ่งหมายอันเป็นแก่นกลางหรือเป็นแนวคิดหลักของเรื่อง หรือเป็นสารที่ผู้แต่งต้องการสื่อมายังผู้อ่าน           จากความหมายข้างต้น อาจสรุปได้ว่า แก่นเรื่องคือสาระสำคัญที่ผู้แต่งมีจุดประสงค์ต้องการสื่อมายังผู้อ่าน สาระสำคัญนั้นมักจะเกี่ยวกับความเป็นจริงของชีวิตเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความหยั่งรู้ เข้าใจและเป็นข้อคิดเตือนใจ           แก่นเรื่อง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในวรรณกรรม

วาทกรรมกับการวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse and Discourse Analysis)

วาทกรรมกับการวิเคราะห์วาทกรรม ( Discourse and Discourse Analysis ) Michel Foucault           วาทกรรม ( Discourse ) ในงานศึกษานี้ มิได้หมายถึงภาษา คำพูด หรือถ้อยแถลงอย่างที่มักนิยมเข้าใจกันเท่านั้น แต่ใช่ในความหมายแบบเดียวกันกับ มิเชล  ฟูโกต์ ( Michel Foucault,  ๑๙๘๒-๑๙๘๔) นักคิด นักเขียน และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงโด่งดังใช้ในงานศึกษายุกหลังของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นับตั้งแต่ศตวรรษ ๑๙๗๐ เป็นต้น กล่าวคือ วาทกรรมในงานศึกษานี้ หมายถึงระบบ และกระบวนการสร้าง/ผลิต ( constitute ) เอกลักษณ์ ( identity ) และความหมาย ( significance ) ในกับสรรพสิ่งต่าง ๆ ในสังคมที่ห่อหุ้มเราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความจริง อำนาจ หรือตัวตนของเราเอง นอกจากนี้วาทกรรมยังทำหน้าที่ตรึงสิ่งที่สร้างขึ้นให้ดำรงอยู่และเป็นที่ยอมรับของสังคมในวงกว้าง ( valorize ) กลายสภาพเป็นสิ่งที่พูดเขียนเรียกงานศึกษานี้ว่า “วาทกรรมหลัก” เพราะนอกจากจะทำให้ไม่เห็นความจริงแล้ว ยังอาจทำให้เราเข้าใจผิดไปได้ว่ามีการแบ่งแยกกันเด็ดขาดระหว่างวาทกรรมหลักกับวาทกรรมรอง โดยยกให้วาทกรรมหลักมีอำนาจสมบูรณ์เด็ดขาด ทำให้มองไม่เห็นกา